POWER SUPPLY แหล่งจ่ายไฟสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 2
เมื่อได้รับไฟ AC(ไฟกระแสสลับ) ตรงนี้จะใช้ Diode แปลงจาไฟกระแสสลับเป็นกระแสตรงครับ ออกจาก Diode ก็ผ่าน C ตัวใหญ่ ๆ กรองไฟให้เรียบ (เป็นการต่อวงจรมาตรฐานเลยครับ ออกจาก Diode เจอ C แน่นอน) ตอนนี้จะได้ ไฟประมาณ 300 VDC (300 V กระแสตรง) เรียบ ๆแล้วครับ จะนำไฟช่วงนี้หล่ะ ไปใช้งานในวงจร คือ เข้าหม้อแปลง เพื่อแปลงไฟ เป็นไฟต่ำ 3.3V,5V,12V แล้ว ส่ง feedback กลับมาครับ ตรง feedback กลับนี่หล่ะ จะใช้ ic เป็นตัวควบคุมให้ไฟไหลได้ต่อเนื่อง ถ้าไฟมากไปก้อตัดให้น้อยลง ไฟน้อยก็เพิ่มให้มากขึ้น เป็นหัวใจของ switching power supply เลยครับ นี่คร่าว ๆ ครับจากรูปภาพ รายละเอียดเดี๋ยวมาต่อกัน
ภาพนี้เป็นภาพ วงจรตัวอย่าง power supply แบบ ATX ผมจะอธิบาย ตามตัววงจรเลยนะครับ
1. ที่วงกลมสีดำวงแรกนะครับ เมื่อไฟ AC ไหลผ่านเข้ามา ก็จะผ่าน fuse จากfuse ก็จะมี Choke และ C ตัวเล็ก ๆ ซึ่งจะมีหน้าที่ตัดความถี่สูง และความถี่ต่ำ ก่อนนำไฟไปใช้ครับ
2. ที่วงกลมสีแดง ไฟจะเข้า Diode bridge เพื่อทำหน้าที่เป็น rectifier แปลงไฟ จาก AC เป็น DCได้ไฟ ประมาณ 300 VDC
3.ที่วงกลมสีเขียว ไฟจะเข้า C ตัวใหญ่ ๆ (2 ตัวคู่กัน) ทำหน้าที่กรองไฟ สูง ๆ ที่ออกมาให้เรียบ หลังจากนี้ก้อจะมีวงจร ตัดความถี่นิดหน่อยแล้วแต่ผู้ผลิตจะออกแบบมาแล้วครับ แล้วจึงเข้าขา 1 ของ หม้อแปลง
4. ไฟที่ได้จากขาที่ 2 เพื่อให้ครบวงจรนั้น จะออกมาจากกลุ่มของวงจร control ไฟครับ ในนี้ก็คือ สี่เหลี่ยมสีม่วง ในวงจรนี้จะประกอบไปด้วย
4.1 IC ควบคุมไฟ เช่น MAX 4191,4391 เป็นต้น ทำหน้าที่ในการควบคุมกระแสให้ไหลมากน้อย ตามระบบต้องการครับ
4.2 mosfet จะทำหน้าที่เป็น switch ความเร็วสูงครับ (ใช้ เพิ่มไฟ ลดไฟ ตามที่กล่าวมาแหล่ะครับ) โดยขา G ของ mosfet จะต่อเข้ากับ IC ควบคุมไฟครับเพื่อใช้ควบคุม switch อีกทีหนึ่ง
5. จากหัวข้อที่ 4 ก็จะได้ไฟครบทั้ง 2 เส้น ต่อเข้าหม้อแปลงแล้วครับ หม้อแปลงจะแปลงไฟตามขนาดที่ต้องการ และมี feedback กลับมาเพื่อให้ ic รู้ว่าไฟที่ได้นั้น ถูกต้องตามระบบต้องการหรือไม่ จะทำงานวน ๆ ไปอย่างนี้เรื่อย ๆ ตั้งแต่เปิดเครื่องจนปิดเครื่องเลยครับ
1. ที่วงกลมสีดำวงแรกนะครับ เมื่อไฟ AC ไหลผ่านเข้ามา ก็จะผ่าน fuse จากfuse ก็จะมี Choke และ C ตัวเล็ก ๆ ซึ่งจะมีหน้าที่ตัดความถี่สูง และความถี่ต่ำ ก่อนนำไฟไปใช้ครับ
2. ที่วงกลมสีแดง ไฟจะเข้า Diode bridge เพื่อทำหน้าที่เป็น rectifier แปลงไฟ จาก AC เป็น DCได้ไฟ ประมาณ 300 VDC
3.ที่วงกลมสีเขียว ไฟจะเข้า C ตัวใหญ่ ๆ (2 ตัวคู่กัน) ทำหน้าที่กรองไฟ สูง ๆ ที่ออกมาให้เรียบ หลังจากนี้ก้อจะมีวงจร ตัดความถี่นิดหน่อยแล้วแต่ผู้ผลิตจะออกแบบมาแล้วครับ แล้วจึงเข้าขา 1 ของ หม้อแปลง
4. ไฟที่ได้จากขาที่ 2 เพื่อให้ครบวงจรนั้น จะออกมาจากกลุ่มของวงจร control ไฟครับ ในนี้ก็คือ สี่เหลี่ยมสีม่วง ในวงจรนี้จะประกอบไปด้วย
4.1 IC ควบคุมไฟ เช่น MAX 4191,4391 เป็นต้น ทำหน้าที่ในการควบคุมกระแสให้ไหลมากน้อย ตามระบบต้องการครับ
4.2 mosfet จะทำหน้าที่เป็น switch ความเร็วสูงครับ (ใช้ เพิ่มไฟ ลดไฟ ตามที่กล่าวมาแหล่ะครับ) โดยขา G ของ mosfet จะต่อเข้ากับ IC ควบคุมไฟครับเพื่อใช้ควบคุม switch อีกทีหนึ่ง
5. จากหัวข้อที่ 4 ก็จะได้ไฟครบทั้ง 2 เส้น ต่อเข้าหม้อแปลงแล้วครับ หม้อแปลงจะแปลงไฟตามขนาดที่ต้องการ และมี feedback กลับมาเพื่อให้ ic รู้ว่าไฟที่ได้นั้น ถูกต้องตามระบบต้องการหรือไม่ จะทำงานวน ๆ ไปอย่างนี้เรื่อย ๆ ตั้งแต่เปิดเครื่องจนปิดเครื่องเลยครับ
ข้อดีและข้อเสียของการทำงานแบบ switching
ข้อดี ของการทำงานแบบนี้ก็คือ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง เกิดความร้อนต่ำ สามารถระบายความร้อนออกได้ง่าย อีกทั้งตัวของหม้อแปลงไม่ใหญ่มาก ทำให้ประหยัดพื้นที่ ตัวpower สมัยใหม่จึงมีขนาดเล็กครับ
ข้อเสีย วงจรสวิชชิ่งจะทำงานที่ความถี่สูง มีการแผ่กระจายคลื่นออกมารบกวนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ ทั้งในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เอง และภายนอกได้ ดังในการออกแบบ power supply จึงต้องถูกบรรจุอยู่ภายในกล่องโลหะเพื่อเป็นการกันสัญญาณรบกวน
ข้อดี ของการทำงานแบบนี้ก็คือ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง เกิดความร้อนต่ำ สามารถระบายความร้อนออกได้ง่าย อีกทั้งตัวของหม้อแปลงไม่ใหญ่มาก ทำให้ประหยัดพื้นที่ ตัวpower สมัยใหม่จึงมีขนาดเล็กครับ
ข้อเสีย วงจรสวิชชิ่งจะทำงานที่ความถี่สูง มีการแผ่กระจายคลื่นออกมารบกวนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ ทั้งในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เอง และภายนอกได้ ดังในการออกแบบ power supply จึงต้องถูกบรรจุอยู่ภายในกล่องโลหะเพื่อเป็นการกันสัญญาณรบกวน
ขาไฟออกของ power supply 20pin และ 24 pin
+12 โวลต์ เท่านั้น สัญญาณนี้แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน ถ้าใช้ก็มีปริมาณไม่มากนัก จึงมีการจ่ายกระแสออกมาได้เพียงไม่เกิน 1 แอมแปร์เท่านั้น
-5V สมัยก่อนไฟชุดนี้ใช้กับไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์ และวงจรของการ์ด ISA บางตัวซึ่งต้องการกระแสไม่มากนัก ชุดนี้ก็จ่ายกระแสไม่เกิน 1 แอมแปร์เหมือนกัน
0 V หมายถึงกราวนด์ ใช้เป็นอ้างอิงกับไฟชุดต่าง ๆ
+3.3 V เป็นแรงดันใหม่ที่เพิ่งมีในยุคหลัง ที่ CPU เริ่มทำงานที่แรงดันต่ำกว่า +5 โวลต์ (ยุค Pentium เป็นต้นมา) ปัจจุปันถูกนำไปใช้กับ RAM,CPU และ AGP Card
+ 5 V ไฟชุดนี้แต่เดิมมีบทบาทมาก ในเครื่อง Power Supply แบบ AT และยังคงต้องใช้อยู่ในปัจจุปัน สำหรับเลี้ยงเมนบอร์ดและไดรว์ต่าง ๆ
+ 12 V เป็นแรงดันไฟสำหรับมอร์เตอร์ของดิสก์และพัดลมเป็นหลัก นอกจากนั้นก็ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น Serial port และการ์ดบางตัว
การตรวจเช็ค เมื่อ power supply เกิดปัญหา อาจแยกวิเคราะห์เป็น 2 กรณี
1. เมื่อ power supply เปิดไม่ติด
1.1 เช็คก่อนครับลองเสียบปลั๊กแล้วเปิด switch (สายเขียว กับดำเส้นไหนก็ได้) เลยตามรูป
1.2 เช็คภาคไฟสูงของ power ตามที่อธิบายข้างต้นครับ(ใครไม่ชำนาญใช้วัดโอห์ม นะครับ ไม่ต้องต่อไฟ ช่างมือฉมังแล้วก็ จับ ground ที่ C ตัวใหญ่ แล้ววัดไฟตามจุดต่อไปนี้ได้เลยครับ)
- fuse
- Diode bridge
- C
- mosfet มีไฟเข้าขา G แล้วไฟออกจากขา D ตามปกติ
- ic ควบคุมไฟ หาขาที่ต่อเข้าขา G ของ mosfet แล้วเช็คไฟ
2.เมื่อ power supply เปิดติด แต่คอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน
2.1 เช็คไฟภาค output ทั้งหมด
2.2 บางทีไฟภาค output ครบแต่กระแสที่ส่งมาอาจขาดไปก็ได้ ลองเปลี่ยน C ตัวใหญ่ดูครับ
อาการเสียที่เกิดอาจเกิดจาก power supply มีปัญหา
1. เปิดไม่ติด
2. เปิดติดไม่ขึ้นภาพ
3. เปิดสักพักดับ,เครื่องแฮงค์บ่อย
4. write CD ไม่ได้
5. VGA ร้อนจัด
2.1 เช็คไฟภาค output ทั้งหมด
2.2 บางทีไฟภาค output ครบแต่กระแสที่ส่งมาอาจขาดไปก็ได้ ลองเปลี่ยน C ตัวใหญ่ดูครับ
อาการเสียที่เกิดอาจเกิดจาก power supply มีปัญหา
1. เปิดไม่ติด
2. เปิดติดไม่ขึ้นภาพ
3. เปิดสักพักดับ,เครื่องแฮงค์บ่อย
4. write CD ไม่ได้
5. VGA ร้อนจัด
switching power supplyทำงานโดยแปลงแรงดันไฟกระแสสลับความถี่ต่ำให้เป็นไฟกระแสตรง จากนั้นจึงเปลี่ยนกลับไปเป็นกระแสไฟสลับ (พัลส์) ที่ความถี่สูง แล้วจึงส่งผ่านหม้อแปลงเพื่อลดแรงดันลง และผ่านวงจรเรียงกระแสและกรองแรงดันเพื่อให้ได้กระแสไฟตรงอีกครั้งหนึ่ง switching power supply ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ คือ filterและrectifier ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับเป็นไฟตรง และ converter จะทำหน้าที่แปลงกระแสไฟตรงเป็นไฟกระแสสลับความถี่สูง และแปลงกลับเป็นไฟตรงโวลต์ต่ำ อีกครั้งหนึ่ง และวงจรควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของconverter เพื่อให้ได้แรงดันไฟตามที่กำหนด
บทความดีๆจาก nctschool.com
บทความดีๆจาก nctschool.com